ข้อมูลทั่วไป

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ทาง ทิศใต้ของจังหวัดอุบลราชธานี
ระยะทางจากจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 97 กิโลเมตร


สภาพของชุมชน :

อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางจากจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 97 กิโลเมตร มีพื้นที่โดยประมาณ 386.50 ตารางกิโลเมตร หรือราว 241,562.50 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.45 ของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นอำเภอชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อเขตอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี 
- ทิศใต้ ติดต่อเขตจังหวัดพระวิหาร สาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา
- ทิศตะวันออก ติดต่อเขตอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศตะวันตก ติดต่อเขตอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

แผนที่อำเภอน้ำขุ่น

map


สภาพพื้นที่
     สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่สูงต่ำ พื้นที่ราบสูงลาดเอียง ลักษณะภูมิสัณฐาน บริเวณพื้นที่จะเป็นที่เนิน ที่เกิดจากการไหลของธารลาวา โดยมีลักษณะเป็นที่ลาดเชิงซ้อน ดินบริเวณนี้จะมีศักยภาพทางการเกษตรสูง ซึ่งเกิดจากการสลายตัวผุพังของหินบะซอลต์ มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นพรมแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา การคมนาคมในอำเภอน้ำขุ่นสามารถติดต่อระหว่างจังหวัดอุบลราชธานี โดยอาศัยทางหลวงสาย 2214 ระหว่างบ้านนากระแซง อำเภอเดชอุดม อำเภอทุ่งศรีอุดม บรรจบทางหลวงสาย 24 อำเภอโชคชัย อำเภอเดชอุดม อำเภอน้ำขุ่น รวมทั้งติดต่อระหว่างอำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย อำเภอบุญฑริก อำเภอเดชอุดม มีลำธารไหลผ่านที่สำคัญ ได้แก่ ห้วยยาง ลำซอม เป็นต้น


ประชากร 
ประชากรรวมทั้งสิ้น 30,819 คน แบ่งเป็น ชาย จำนวน 15,608 คน หญิง จำนวน 15,211 คน 
จำนวน 9,117 หลังคาเรือน 
ที่มา : ทะเบียนราษฎร์อำเภอน้ำขุ่น (ข้อมูล ณ วันที่ 11 เดือน กันยายน 2558)

 

ข้อมูลการปกครอง
อำเภอน้ำขุ่น แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 4 ตำบล 55 หมู่บ้าน ได้แก่
1.1 ตำบลตาเกา จำนวน 15 หมู่บ้าน
1.2 ตำบลโคกสะอาด จำนวน 12 หมู่บ้าน
1.3 ตำบลขี้เหล็ก จำนวน 12 หมู่บ้าน
1.4 ตำบลไพบูลย์ จำนวน 15 หมู่บ้าน


2. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ดังนี้ 
2.1 เทศบาลตำบลตาเกา
2.2 เทศบาลตำบลขี้เหล็ก
2.3 องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด
2.4 องค์การบริหารส่วนตำบลไพบูลย์


การศึกษา อำเภอน้ำขุ่น จัดการศึกษาออกเป็น 2 ระบบ คือ การศึกษาในระบบโรงเรียนและการศึกษานอกระบบโรงเรียน
1. สถานศึกษาในระบบโรงเรียน ประกอบด้วย
1.1 โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
1.2 โรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 6 แห่ง
1.3 โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 14 แห่ง
1.4 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 1 แห่ง
1.5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 16 แห่ง


2. สถานศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย มีจำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำขุ่น


สาธารณสุข อำเภอน้ำขุ่นมีสถานพยาบาล ประกอบด้วย
1. โรงพยาบาลน้ำขุ่น จำนวน 1 แห่ง 
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 6 แห่ง

 

ศาสนา อำเภอน้ำขุ่น มีศาสนสถาน ประกอบด้วย
1. วัด /สำนักสงฆ์ จำนวน 38 แห่ง
2. โบสถ์ศาสนาคริสต์ จำนวน 4 แห่ง
- ประชากรนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 96.88 % 
- ประชากรนับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 1.52 %


การประกอบอาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวน ทำไร่ ผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปอแก้ว อ้อย มะละกอ แก้วมังกร ฝรั่งไร้เมล็ด การเลี้ยงสัตว์ส่วนมากเลี้ยงไว้ใช้งานและ เป็นอาหาร เช่น
โคกระบือ สุกร เป็ด ไก่ เป็นต้น


พาณิชย์การตลาด
1. โรงรับซื้อมันสำปะหลัง จำนวน 6 แห่ง 
2. ร้านรับซื้อยางพารา จำนวน 5 แห่ง
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) จำนวน 1 แห่ง 
4. สหกรณ์การเกษตรอำเภอน้ำขุ่น จำนวน 1 แห่ง 
5. โรงงานอุตสาหกรรม (โรงโม่หิน) จำนวน 1 แห่ง
6. ร้านทอง จำนวน 1 ร้าน


ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี
ประชาชนในอำเภอน้ำขุ่น มีความเชื่อในเรื่องบาป บุญ และเรื่องผีแม่มด มีการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ดีงามมาจนถึงปัจจุบัน คือ ฮีต 12 ครอง 14 ตัวอย่างเช่น บุญพระเวสสันดร บุญข้าวจี่ บุญคูนลาน บุญกุ้มข้าวใหญ่ บุญข้าวสาก บุญข้าวประดับดิน บุญบั้งไฟ บุญเดือนหก ประเพณีวันสงกรานต์ เป็นต้น